วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พรบ.การศึกษาหมวด 4

 

พระราชบัญญัติการศึกษา

หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา

มาตรา ๒๒ การจัดการศึกษาต้องยืดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และ

พัฒนาตนเองได้ การจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและ

เต็มตามศักยภาพ

(นักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่าง และมีรูปแบบการเรียนรู้ต่างกัน ครูมีหน้าที่จัด

สภาพแวดล้อมให้นักเรียน เกิดการเรียนรู้ )

มาตรา ๒๓ การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและ

การศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และ

บูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้

(๑) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม

(๒) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(๓) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและ

การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา

(๔)  ความรู้  และทักษะด้านคณิตศาสตร์  และด้านภาษา  เน้นการใช้ภาษาไทย
อย่างถูกต้อง

(๕) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

(นอกจากนักเรียนจะต้องมีความรู้แล้ว ยังต้องมีคุณธรรม มีส่วนร่วมในกิจการ

และ เหตุการณ์ทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิด

ประโยชน์กับส่วนรวม)

มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้  ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)  จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคลองกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน 
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(๒)  ฝึกทักษะ  กระบวนการคิด  การจัดการ  การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์
ความรู้มาใช้เพื่อ ป้องกันและแก้ไขปัญหา
(๓)  จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบกรณ์จริง  ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้  
คิดเป็น  ทำเป็น  รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(๔)  จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วน
สมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ไว้ในทุกวิชา
(๕)  ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ  สภาพแวดล้อม  สื่อการเรียน 
และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้  รวมทั้ง
สามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้  ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียน
อาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
(๖)  จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา 
มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย ร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ    
(ครูมีหน้าที่จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเรียนรู้ ใช้วิธีการ,สื่อและ
แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมถึงต้องทำงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น 
จากการเรียนการสอนด้วย ในการสร้างความรู้ของนักเรียนจะต้องมีการร่วมมือกัน
ระหว่างครู นักเรียน และผู้ปกครอง)
มาตรา ๒๕  รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ 
ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์หอศิลป์  สวนสัตว์  สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์  
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ  แหล่งข้อมูลและ
แหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ
(เห็นด้วยกับการจัดแหล่งการเรียนรู้ให้หลากหลาย ควรส่งเสริมให้มีการใช้แหล่งเรียนรู้
ในเวลาว่างมากขึ้น ไม่เฉพาะไปกับโรงเรียนเท่านั้น)
มาตรา ๒๖ ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน  
ความประพฤติ   การสังเกตพฤติกรรมการเรียน  การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไป
ในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา
               ให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อและ
ให้นำผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย
(นอกเหนือจากครูเป็นผู้ประเมินแล้ว  นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินตนเอง รวมถึง
การให้เพื่อนประเมินด้วย) 
มาตรา ๒๗  ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย  ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ  การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ  
ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ
               ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ใน
วรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น  คุณลักษณะ
อันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว  ชุมชน  สังคม  และประเทศชาติ
(ในการจัดทำหลักสูตร แต่ละสถานศึกษาควรนำสังคม ชุมชนรอบโรงเรียนมาเกี่ยวข้องด้วย 
เพื่อให้นักเรียนรู้สึกรัก หวงแหน และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และสังคมนั้น)
มาตรา ๒๘ หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตาม
มาตรา ๑๐  วรรคสอง  วรรคสาม  และวรรคสี่ต้องมีลักษณะหลากหลาย  ทั้งนี้ให้จัดตาม
ความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัย
และศักยภาพ สาระของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการ และวิชาชีพ  ต้องมุ่งหมายพัฒนาคน
ให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้  ความคิด  ความสามารถ  ความดีงามและความรับผิดชอบต่อสังคม
               สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา  นอกจากคุณลักษณะในวรรคหนึ่ง
และวรรคสองแล้ว  ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการวิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย  
เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม
มาตรา ๒๙  ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล  ครอบครัว  ชุมชน  องค์กรชุมชน 
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา 
สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัด
กระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน  เพื่อให้ชุมชน มีการจัดการศึกษาอบรม  มีการแสวงหาความรู้  
ข้อมูลข่าวสาร  และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ  เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้อง
กับสภาพปัญหาและความต้องการ  รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 
การพัฒนาระหว่างชุมชน
(สถานศึกษาควรจัดให้มีการแบ่งปันและเผยแพร่ความรู้โดยการให้ความร่วมมือกับชุมชน 
โดยสถานศึกษา อาจเป็นผู้ให้ความรู้ จัดหาแหล่งความรู้ให้กับชุมชน  ในขณะเดียวกัน 
ชุมชนก็มีส่วนในการเป็นแหล่งเรียนรู้ ให้กับสถานศึกษาได้ด้วยเช่นเดียวกัน)
มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธภาพ รวมทั้ง
การส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา
(ในการสอนที่มีประสิทธิภาพต้องมีการทำการวิจัยร่วมด้วยเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ในการจัดการเรียน การสอน และปัญหาที่เกิดกับผู้เรียนคนใดคนหนึ่ง)
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น