วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ข้อสรุปการอ่านบทความ NOS

ข้อสรุปจากการอ่านบทความNOS

ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย

1. โลกในมุมมองแบบวิทยาศาสตร์(Sciecnetific worldview)

หลังจากที่นักเรียนเรียนจบชั้นป. 5 แล้วนักเรียนควรรู้ว่า

1.1 บางครั้งในการสืบเสาะสิ่งเดียวกันอาจได้ผลที่แตกต่างกัน

เพราะการสืบเสาะ วิธีการที่ใช้ และสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง

และบางครั้งก็เกิดจากความไม่แน่นอนของการสังเกต

1.2 วิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการที่จะอธิบายว่าโลกของเรา

ทำงานอย่างไร โดยใช้การสังเกตอย่างรอบคอบและพยายามที่จะ

ทำความเข้าใจการสังเกตเหล่านั้น

2.ด้านการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์(Sciencetific inquiry)

หลังจากนั้นเรียนจบชั้นป.5 แล้วนักเรียนต้องรู้ว่า

2.1. การสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์อาจใช้รูปแบบที่แตกต่างกัน

ประกอบด้วยการสังเกตว่าสิ่งต่างๆมีลักษณะอย่างไร หรือ

อะไรเกิดขึ้นที่ไหน

2.2. เนื่องจากว่าเราคาดหวังว่าการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์

ต้องทำในลักษณะเดียวกันและผลลัพธ์ต้องออกมาเหมือนกัน

เมื่อมันไม่เป็นเช่นนั้นเราต้องพยายามที่จะหาคำตอบว่าเพราะเหตุใด

2.3 เหตุผลที่จะต้องทำตามขั้นตอนอย่างระมัดระวังและทำการบันทึก

คือหาสาเหตุของความ แตกต่างจากการสืบเสาะ

2.4 นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในโลก

สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่มาจาก การสังเกตและการคิด

ของนักวิทยาศาสตร์

2.5 บางครั้งนักวิทยาศาสตร์อธิบายสิ่งที่สังเกตสิ่งเดียวกัน

ในทางที่แตกต่างกัน ซึ่งความต่างนั้นนำไปสู่การสังเกตที่มากขึ้น

เพื่อแยกแยะความแตกต่างนั้น

2.6 นักวิทยาศาสตร์ไม่ให้ความสนใจอ้างสิ่งที่เขารู้เกี่ยวกับงาน

เว้นแต่ว่าการอ้างนั้นจะมาช่วยสนับสนุนหลักฐานที่สามารถยืนยันได้

และเข้ากันได้กับเหตุผลทางตรรกกะ

3.ด้านสังคมนักวิทยาศาสตร์(Sciencetific Enterprise)

หลังจากที่นักเรียนเรียนจบชั้นป. 5 แล้วนักเรียนควรรู้ว่า

3.1 วิทยาศาสตร์เป็นการผจญภัย ทุกๆคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งได้

3.2 การสื่อสารที่ชัดเจนเป็นส่วนสำคัญในการทำงานทาง

วิทยาศาสตร์ การสื่อสารสามารถทำให้นักวิทยาศาสตร์ให้ข้อมูล

เกี่ยวกับงานของเขาได้ ช่วยให้สามารถเสนอความคิดเพื่อการ

วิพากษ์วิจารณ์โดยนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่น รวมทั้งสามารถให้ข้อมูล

เกี่ยวกับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลก

3.3 การทำงานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับงานที่แตกต่างกัน

หลายประเภท และยังเกี่ยวข้องกับชายหญิงในทุกวัยและทุกพื้นฐาน

3.4 ระเบียบทางสังคมและผลผลิตทางเทคโนโลยีสามารถ

เป็นรูปเป็นร่างได้โดยความรู้ทาง วิทยาศาสตร์

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ธรรมชาติวิทยาศาสตร์(Nature of science;NOS)

ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ คือ ลักษณะเฉพาะตัวของวิทยาศาสตร์ที่ทำให้
วิทยาศาสตร์มีความแตกต่างจากศาสตร์อื่นๆ เป็นค่านิยม ข้อสรุปแนวคิดหรือ
คำอธิบายที่บอกว่าวิทยาศาสตร์คืออะไร มีการทำงานอย่างไร นักวิทยาศาสตร์คือใคร
ทำงานอย่างไร และงานด้านวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์อย่างไรกับสังคมค่านิยม
(สสวท., 2551; McComas et al., 1998).

ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ประกอบไปด้วยแนวคิด 3 กลุ่มใหญ่คือ

ด้านที่ 1 โลกในมุมมองแบบวิทยาศาสตร์(Scientific World View)
1.1 โลกคือสิ่งที่สามารถทำความเข้าใจได้
ปรากฏการณ์ต่างๆ บนโลกหรือในจักรวาลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นแบบรูป (pattern)
สามารถเข้าใจได้ด้วยสติปัญญา วิธีการศึกษาที่เป็นระบบ ผนวกกับการใช้ประสาทสัมผัส
และเครื่องมือต่างๆ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
1.2 แนวคิดทางวิทยาศาสตร์สามารถเปลี่ยนแปลงได้
แนวคิดทางวิทยาศาสตร์สามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีข้อค้นพบใหม่ที่อธิบายได้ดีกว่า
1.3 ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีความคงทน
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีความคงทน เชื่อถือได้เพราะผ่านวิธีการ
ทางวิทยาศาสตร์ที่เน้นความถูกต้องแม่นยำ และตรวจสอบอย่างเข้มข้นจากประชาคม
วิทยาศาสตร์ (Scientific Community)
1.4 ทฤษฎีและกฎมีความสัมพันธ์กันแต่มีความแตกต่างกัน
กฎ คือ แบบแผนที่ปรากฏในธรรมชาติ ส่วน ทฤษฎี คือ คำอธิบายว่าทำไมแบบแผน
ของธรรมชาติจึงเป็นไปตามกฏนั้นๆ
1.5 วิทยาศาสตร์ไม่สามารถตอบได้ทุกคำถาม
วิทยาศาสตร์ไม่สามารถตอบคำถามในเรื่องของค่านิยม จิตวิญญาณ ความเชื่อ จริยธรรม
หรือศาสนาได้

ด้านที่ 2 การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์(scientific inquiry)
ครอบคลุมถึง ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการค้นคว้าและสืบเสาะหาความรู้วิทยาศาสตร์
เป็นการเข้าใจถึงความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่จะหาหลักฐาน
โดยใช้เหตุผลและจินตนาการ ทำการทดลอง อธิบายและทำนายปรากฏการณ์ต่าง ๆ
เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่มาสนับสนุนแนวคิดของตนเองโดยพยายามหลีกเลี่ยงอคติและ
เป็นอิสระจากผู้มีอำนาจ

ด้านที่ 3ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการทางวิทยาศาสตร์ (scientific enterprise)
เนื่องจากความรู้วิทยาศาสตร์เพียงสาขาใดสาขาหนึ่งไม่สามารถนำไปสู่การ
พัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์ขั้นสูงได้ ดังนั้น การสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่าง
นักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ หรือ การเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างบุคคล
องค์กร และสถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นกิจการที่สำคัญต่อการส่งเสริม
การพัฒนาและเผยแพร่ความรู้วิทยาศาสตร์เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสาธารณชน
โดยรวมต่อไป

ที่มา:
http://www3.ipst.ac.th/stat/assets//journal/j012_7Jan.pdf

http://www.edu.nu.ac.th/education-depart/doc/paper%.pdf

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พรบ.การศึกษาหมวด 4

 

พระราชบัญญัติการศึกษา

หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา

มาตรา ๒๒ การจัดการศึกษาต้องยืดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และ

พัฒนาตนเองได้ การจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและ

เต็มตามศักยภาพ

(นักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่าง และมีรูปแบบการเรียนรู้ต่างกัน ครูมีหน้าที่จัด

สภาพแวดล้อมให้นักเรียน เกิดการเรียนรู้ )

มาตรา ๒๓ การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและ

การศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และ

บูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้

(๑) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม

(๒) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(๓) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและ

การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา

(๔)  ความรู้  และทักษะด้านคณิตศาสตร์  และด้านภาษา  เน้นการใช้ภาษาไทย
อย่างถูกต้อง

(๕) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

(นอกจากนักเรียนจะต้องมีความรู้แล้ว ยังต้องมีคุณธรรม มีส่วนร่วมในกิจการ

และ เหตุการณ์ทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิด

ประโยชน์กับส่วนรวม)

มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้  ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)  จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคลองกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน 
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(๒)  ฝึกทักษะ  กระบวนการคิด  การจัดการ  การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์
ความรู้มาใช้เพื่อ ป้องกันและแก้ไขปัญหา
(๓)  จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบกรณ์จริง  ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้  
คิดเป็น  ทำเป็น  รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(๔)  จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วน
สมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ไว้ในทุกวิชา
(๕)  ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ  สภาพแวดล้อม  สื่อการเรียน 
และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้  รวมทั้ง
สามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้  ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียน
อาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
(๖)  จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา 
มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย ร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ    
(ครูมีหน้าที่จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเรียนรู้ ใช้วิธีการ,สื่อและ
แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมถึงต้องทำงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น 
จากการเรียนการสอนด้วย ในการสร้างความรู้ของนักเรียนจะต้องมีการร่วมมือกัน
ระหว่างครู นักเรียน และผู้ปกครอง)
มาตรา ๒๕  รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ 
ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์หอศิลป์  สวนสัตว์  สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์  
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ  แหล่งข้อมูลและ
แหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ
(เห็นด้วยกับการจัดแหล่งการเรียนรู้ให้หลากหลาย ควรส่งเสริมให้มีการใช้แหล่งเรียนรู้
ในเวลาว่างมากขึ้น ไม่เฉพาะไปกับโรงเรียนเท่านั้น)
มาตรา ๒๖ ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน  
ความประพฤติ   การสังเกตพฤติกรรมการเรียน  การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไป
ในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา
               ให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อและ
ให้นำผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย
(นอกเหนือจากครูเป็นผู้ประเมินแล้ว  นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินตนเอง รวมถึง
การให้เพื่อนประเมินด้วย) 
มาตรา ๒๗  ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย  ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ  การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ  
ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ
               ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ใน
วรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น  คุณลักษณะ
อันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว  ชุมชน  สังคม  และประเทศชาติ
(ในการจัดทำหลักสูตร แต่ละสถานศึกษาควรนำสังคม ชุมชนรอบโรงเรียนมาเกี่ยวข้องด้วย 
เพื่อให้นักเรียนรู้สึกรัก หวงแหน และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และสังคมนั้น)
มาตรา ๒๘ หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตาม
มาตรา ๑๐  วรรคสอง  วรรคสาม  และวรรคสี่ต้องมีลักษณะหลากหลาย  ทั้งนี้ให้จัดตาม
ความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัย
และศักยภาพ สาระของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการ และวิชาชีพ  ต้องมุ่งหมายพัฒนาคน
ให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้  ความคิด  ความสามารถ  ความดีงามและความรับผิดชอบต่อสังคม
               สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา  นอกจากคุณลักษณะในวรรคหนึ่ง
และวรรคสองแล้ว  ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการวิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย  
เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม
มาตรา ๒๙  ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล  ครอบครัว  ชุมชน  องค์กรชุมชน 
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา 
สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัด
กระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน  เพื่อให้ชุมชน มีการจัดการศึกษาอบรม  มีการแสวงหาความรู้  
ข้อมูลข่าวสาร  และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ  เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้อง
กับสภาพปัญหาและความต้องการ  รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 
การพัฒนาระหว่างชุมชน
(สถานศึกษาควรจัดให้มีการแบ่งปันและเผยแพร่ความรู้โดยการให้ความร่วมมือกับชุมชน 
โดยสถานศึกษา อาจเป็นผู้ให้ความรู้ จัดหาแหล่งความรู้ให้กับชุมชน  ในขณะเดียวกัน 
ชุมชนก็มีส่วนในการเป็นแหล่งเรียนรู้ ให้กับสถานศึกษาได้ด้วยเช่นเดียวกัน)
มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธภาพ รวมทั้ง
การส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา
(ในการสอนที่มีประสิทธิภาพต้องมีการทำการวิจัยร่วมด้วยเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ในการจัดการเรียน การสอน และปัญหาที่เกิดกับผู้เรียนคนใดคนหนึ่ง)
 

ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม

ประวัติของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยJean Piaget ซึ่งได้ให้แนวคิดว่าผู้เรียน เป็นผู้สร้างความรู้ โดยการลงมือกระทำ ประสบการณ์ใหม่กระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา จากนั้นจะเกิดการปรับโครงสร้างทางปัญญาเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความรู้เดิมและความรู้ใหม่
สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสต์
1. ธรรมชาติของผู้เรียน
ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งในด้านของประสบการณ์ ความรู้เดิม ความต้องการ พื้นฐานทางวัฒนธรรม และการตอบสนองของผู้เรียนที่แตกต่างกัน ทฤษฎีนี้ไม่เพียงแต่ยอมรับความแตกต่างเฉพาะบุคคลและความซับซ้อนเท่านั้นแต่ยังใช้สิ่งเหล่านั้นในการสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นภายในตัวของผู้เรียนด้วย
2. บทบาทของครู ตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสต์นี้ ครูต้องเปลี่ยนจากการเป็นผู้ให้ความรู้ ผู้ถ่ายทอดความรู้ มาเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้กล่าวคือ ออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ซึ่งสนับสนุนและท้าทายเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ เป็นผู้เตรียมอุปกรณ์ต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกในการหาคำตอบของนักเรียน รวมทั้งเป็นผู้ตอบปัญหา ให้คำปรึกษา ในกรณีที่นักเรียนไม้สามารถแก้ปัญหาได้ หรือเกิดคำถาม ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกคิดและแก้ปัญหาเอง

3. กระบวนการเรียนรู้
กระบวนการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์นั้นเป็นการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือทำ และกระบวนการทางสังคม กล่าวคือ นักเรียนต้องลงมือศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง โดยผ่านกระบวนการกลุ่มที่มีการปรึกษา และอภิปรายภายในกลุ่ม รวมถึงมีการแบ่งหน้าที่การทำงานตามความสามารถของบุคคล อีกทั้งครู ผู้เรียน ต้องมีปฏิสัมพันธ์กันตลอดเวลา ทั้งครูและผู้เรียนอาจทำหน้าที่เป็นทั้งโคชและลูกทีมได้ในบริบทที่แตกต่างกัน