วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Messachusett Framwork

Massachusetts Science and Technology/Engineering Curriculum Framework

ป็นหนึ่งในเจ็ดกรอบหลักสูตรซึ่งพัฒนาขึ้นโดยคณะทำงานเกี่ยวกับการศึกษาของเมสสาชูเซสซึ่งมี

การเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านของการเรียน การสอนและการประเมิน ซึ่งสร้างโดยครู อาจารย์ในมหาวิทยาลัย

นักการศึกษา นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกร และคณะทำงานจากคณะศึกษาศาสตร์

Purpose and Nature of Science and Technology/Engineering

ัตถุประสงค์ และธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี/วิศวกรรม

ัตถุประสงค์ ของการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/วิศวกรรม

ในแมสซาชูเซสนั้นทำให้นักเรียนมีทั้งทักษะและลักษณะนิสัยทางวิทยาศาสตร์ ในด้านความรู้สามารถมีปฏิสัมพัน์กับผู้ที่เป็นนักคิดและสังคมอเมริกันได้ อีกทั้งยังเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาในอนาคตอีกด้วย

Inquiry, Experimentation, and Design in the Classroom

กระบวนการสืบเสาะ,การทดลอง และออกแบบในชั้นเรียน

การใช้กระบวนการสืบเสาะเป็นพื้นฐานในการเรียนนั้น เป็นทางหนึ่งที่จะพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดหลัก,เนื้อหา

และทักษะทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์นั้น

ต้องการให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

โดยประยุกต์ใช้ความรู้ผ่านทักษะทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนควรมีโอกาสได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี/วิศวกรรมผ่านทางกิจกรรมที่มีปฏิสัมพันธ์

การทำการทดลอง การศึกษานอกสถานที่ และการออกแบบต่างๆ

กระบวนการสืบเสาะ,การทดลองและการออกแบบ ไม่ควรสอนหรือ

สอบแยกกัน แต่กระบวนการสืบเสาะ,การทดลองและการออกแบบ

ควรที่จะออกแบบหลักสูตรมาให้อยู่ด้วยกัน การสอนและการวัดผลนั้น ควรประกอบไปด้วยวิทยาศาสตร์ชีวภาพ,วิทยาศาสตร์กายภาพ,

โลกและอวกาศ และเทคโนโลยี/วิศวกรรม เพื่อที่จะทำให้นักเรียน

เกิดความชัดเจนว่า การรู้ “อะไร” ต้องไม่แยกจากการรู้ “อย่างไร”

Skills of Inquiry, Experimentation, and Design

ทักษะด้านกระบวนการสืบเสาะ การทดลอง และการออกแบบ

Grades PreK–2

§ ถามคำถามเกี่ยวกับวัตถุ,อวัยวะ และสิ่งแวดล้อมรอบตัว

§ บอกได้ว่า “เพราะเหตุใดและอะไรจะเกิดขึ้นถ้า……”

§ ทำนายโดยใช้รูปแบบการสังเกตเป็นพื้นฐาน

§ บอกชื่อและใช้เครื่องมือพื้นฐานได้(เช่น ไม้บรรทัด,เทอร์มอมิเตอร์,เครื่องชั่ง)

§ บันทึกการสังเกตและข้อมูลด้วยภาพ,ตัวเลขหรือบรรยาย

§ อภิปรายเกี่ยวกับการสังเกตร่วมกับผู้อื่น

Grades 3–5

§ ถามคำถามและทำนายในสิ่งที่สามารทดสอบได้

§ สามารถเลืกและใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อนำไปใช้ในการสังเกตได้

§ บันทึกผลการสืบเสาะและการทดลองอย่างแม่นยำ

§ ทดลองหายครั้งเพื่อทดสอบการทำนายและเปรียบเทียบผลที่ได้

จากการสืบเสาะและการทดลองกับการทำนาย

§ ใช้ข้อมูลที่ได้ในการอธิบายผลการสืบเสาะหรือการทดลองอย่างมีเหตุผล

§ บันทึกข้อมูลและสื่อให้ผู้อื่นทราบโดยใช้กราฟ ตาราง แผนภาพ

แบบจำลอง บรรยายปากเปล่า หรือเขียนรายงาน

Grades 6–8

§ ตั้งสมมติฐานที่สามารถทดสอบได้

§ ออกแบบการทดลองให้มีตัวแปรควบคุมและตัวแปรตาม

และคำนวณ

§ เลือกใช้เครื่องมือและเทคโนโลยี(เช่น เครื่องคิดเลข,

คอมพิวเตอร์,ไมโครสโคปเพื่อช่วยในการเก็บข้อมูล

§ นำเสนอและอธิบายข้อมูลโดยใช้ตาราง กราฟ

แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์และการสาธิต

§ เขียนข้อสรุปโดยใช้ข้อมูลและหลักฐานมาสนับสนุน

และนำเสนอโดย กราฟ หรือรูปแบบที่เหมาะสมกับข้อมูล

§ สื่อสารผลโดยใช้ศัพท์เฉพาะทางวิทยาศาสตร์

§ อธิบายโดยมีแบบแผน ,เขียนอธิบายจุดเด่น จุดด้อย เพื่อใช้ในการปรับปรุงครั้งต่อไป

High School

กรอบนี้แนะนำทักษะการสืบสวนทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry Skills : SIS)

4 มาตรฐานในชั้นมัธยมปลาย(ยกเว้นเทคโนโลยี/วิศวกรรม ซึ่งแทนโดยขั้นของกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม)

SIS1. Make observations, raise questions, and formulate hypotheses.

ทำการสังเกต,ตั้งคำถามและตั้งสมมติฐาน

SIS2. Design and conduct scientific investigations.

ออกแบบการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์

SIS3. Analyze and interpret results of scientific investigations.

วิเคราะห์และอธิบายผลการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์

SIS4. Communicate and apply the results of scientific investigations.

สื่อสารและประยุกต์ผลการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์

Science and Technology/Engineering Learning Standards

าตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี/วิศวกรรม

earth and space science:โลกและอวกาศ

grades PreK–2 ศึกษาเกี่ยวกับ

ัตถุของโลก,สภาพภูมิอากาศ,การทำนายปรากฏการณ์

ดวงอาทิตย์:แหล่งพลังงานแสงและความร้อน

grades 3–5 ศึกษาเกี่ยวกับ

ินและสมบัติของหิน,ดิน,อากาศ,วัฏจักรของน้ำ,

กำเนิดโลกและโลกในระบบสุริยะ

grades 6–8 ศึกษาเกี่ยวกับ

แผนที่โลก,โครงสร้างของโลก,การส่งถ่ายความร้อนในโลก,

กำเนิดโลก และโลกในระบบสุริยะ

High school ศึกษาเกี่ยวกับ

วัตถุและพลังงานในระบบของโลก,แหล่งพลังงานในโลก,

กระบวนการและวัฏจักรในโลก และต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของอวกาศ

life sciences(Biology)

grades PreK–2 ศึกษาเกี่ยวกับ

ลักษณะของสิ่งมีชีวิต,การถ่ายทอดทางพันธุกรรม,

วิวัฒนาการและความหลากหลายทางชีวภาพและ

สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ

grades 3–5 ศึกษาเกี่ยวกับ

ลักษณะขอพืชและสัตว์,โครงสร้างและการทำงาน,

การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตและ พลังงานและสิ่งมีชีวิต

grades 6–8 ศึกษาเกี่ยวกับ

การจัดประเภทของอวัยวะ,โครงสร้างและการทำงานของเซลล์,

ระบบของสิ่งมีชีวิต,การสร้างใหม่และการถ่ายทอดทางพันธุกรรม,

วิวัฒนาการและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต,

สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ,

พลังงานและสิ่งมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศเมื่อเวลาผ่านไป

High school ศึกษาเกี่ยวกับ

เคมีในสิ่งมีชีวิต,เซลล์ชีวภาพ,พันธุศาสตร์,

กายวิภาคศาสตร์และกายภาพ,วิวัฒนาการและความหลากหลาย

และนิเวศวิทยา

physical sciences (chemistry and physics)

grades PreK–2 ศึกษาเกี่ยวกับ

สมบัติของวัตถุที่สังเกตได้,สถานะของสาร

และตำแหน่งและการเคลื่อนที่ของวัตถุ

grades 3–5 ศึกษาเกี่ยวกับ

สมบัติของวัตถุและวัสดุ,สถานะของสาร

และรูปแบบของพลังงาน

grades 6–8 ศึกษาเกี่ยวกับ

สมบัติของวัตถุ,ธาตุ,สารประกอบและสารผสม,

การเคลื่อนที่ของวัตถุ,รูปแบบของพลังงานและพลังงานความร้อน

High school ศึกษาเกี่ยวกับ

สมบัติของวัตถุ,โครงสร้างอะตอมและเคมีนิวเคลียร์,

ตารางธาตุ,พันธะเคมี,ปฎิกิริยาเคมีและ Stoichiometry, สถานะของสาร,ทฤษฎีพลังงานจลน์ของโมเลกุลและเคมีอุณหพลศาสตร์,

สาร,อัตราการเกิดปฏิกิริยา สมดุลเคมี,กรดและเบส,ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นและรีดักชั่น

Technology/engineering

grades PreK–2 ศึกษาเกี่ยวกับ

วัสดุและเครื่องมือ,การออกแบบทางวิศวกรรม

grades 3–5 ศึกษาเกี่ยวกับ

วัสดุและเครื่องมือ,การออกแบบทางวิศวกรรม

grades 6–8 ศึกษาเกี่ยวกับ

วัสดุ เครื่องมือและเครื่องกล,การออกแบบทางวิศวกรรม,

เทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีวิศวกรรมสิ่งมีชีวิต

High school ศึกษาเกี่ยวกับ

การออกแบบทางวิศวกรรม,เทคโนโลยีโครงสร้าง,

เทคโนโลยีพลังงานและกำลัง:ระบบของเหลว,

เทคโนโลยีพลังงานและกำลัง:ระบบความร้อน,

เทคโนโลยีพลังงานและกำลัง:ระบบไฟฟ้า,

เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีโรงงาน

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ข้อสรุปการอ่านบทความ NOS

ข้อสรุปจากการอ่านบทความNOS

ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย

1. โลกในมุมมองแบบวิทยาศาสตร์(Sciecnetific worldview)

หลังจากที่นักเรียนเรียนจบชั้นป. 5 แล้วนักเรียนควรรู้ว่า

1.1 บางครั้งในการสืบเสาะสิ่งเดียวกันอาจได้ผลที่แตกต่างกัน

เพราะการสืบเสาะ วิธีการที่ใช้ และสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง

และบางครั้งก็เกิดจากความไม่แน่นอนของการสังเกต

1.2 วิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการที่จะอธิบายว่าโลกของเรา

ทำงานอย่างไร โดยใช้การสังเกตอย่างรอบคอบและพยายามที่จะ

ทำความเข้าใจการสังเกตเหล่านั้น

2.ด้านการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์(Sciencetific inquiry)

หลังจากนั้นเรียนจบชั้นป.5 แล้วนักเรียนต้องรู้ว่า

2.1. การสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์อาจใช้รูปแบบที่แตกต่างกัน

ประกอบด้วยการสังเกตว่าสิ่งต่างๆมีลักษณะอย่างไร หรือ

อะไรเกิดขึ้นที่ไหน

2.2. เนื่องจากว่าเราคาดหวังว่าการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์

ต้องทำในลักษณะเดียวกันและผลลัพธ์ต้องออกมาเหมือนกัน

เมื่อมันไม่เป็นเช่นนั้นเราต้องพยายามที่จะหาคำตอบว่าเพราะเหตุใด

2.3 เหตุผลที่จะต้องทำตามขั้นตอนอย่างระมัดระวังและทำการบันทึก

คือหาสาเหตุของความ แตกต่างจากการสืบเสาะ

2.4 นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในโลก

สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่มาจาก การสังเกตและการคิด

ของนักวิทยาศาสตร์

2.5 บางครั้งนักวิทยาศาสตร์อธิบายสิ่งที่สังเกตสิ่งเดียวกัน

ในทางที่แตกต่างกัน ซึ่งความต่างนั้นนำไปสู่การสังเกตที่มากขึ้น

เพื่อแยกแยะความแตกต่างนั้น

2.6 นักวิทยาศาสตร์ไม่ให้ความสนใจอ้างสิ่งที่เขารู้เกี่ยวกับงาน

เว้นแต่ว่าการอ้างนั้นจะมาช่วยสนับสนุนหลักฐานที่สามารถยืนยันได้

และเข้ากันได้กับเหตุผลทางตรรกกะ

3.ด้านสังคมนักวิทยาศาสตร์(Sciencetific Enterprise)

หลังจากที่นักเรียนเรียนจบชั้นป. 5 แล้วนักเรียนควรรู้ว่า

3.1 วิทยาศาสตร์เป็นการผจญภัย ทุกๆคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งได้

3.2 การสื่อสารที่ชัดเจนเป็นส่วนสำคัญในการทำงานทาง

วิทยาศาสตร์ การสื่อสารสามารถทำให้นักวิทยาศาสตร์ให้ข้อมูล

เกี่ยวกับงานของเขาได้ ช่วยให้สามารถเสนอความคิดเพื่อการ

วิพากษ์วิจารณ์โดยนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่น รวมทั้งสามารถให้ข้อมูล

เกี่ยวกับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลก

3.3 การทำงานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับงานที่แตกต่างกัน

หลายประเภท และยังเกี่ยวข้องกับชายหญิงในทุกวัยและทุกพื้นฐาน

3.4 ระเบียบทางสังคมและผลผลิตทางเทคโนโลยีสามารถ

เป็นรูปเป็นร่างได้โดยความรู้ทาง วิทยาศาสตร์

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ธรรมชาติวิทยาศาสตร์(Nature of science;NOS)

ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ คือ ลักษณะเฉพาะตัวของวิทยาศาสตร์ที่ทำให้
วิทยาศาสตร์มีความแตกต่างจากศาสตร์อื่นๆ เป็นค่านิยม ข้อสรุปแนวคิดหรือ
คำอธิบายที่บอกว่าวิทยาศาสตร์คืออะไร มีการทำงานอย่างไร นักวิทยาศาสตร์คือใคร
ทำงานอย่างไร และงานด้านวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์อย่างไรกับสังคมค่านิยม
(สสวท., 2551; McComas et al., 1998).

ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ประกอบไปด้วยแนวคิด 3 กลุ่มใหญ่คือ

ด้านที่ 1 โลกในมุมมองแบบวิทยาศาสตร์(Scientific World View)
1.1 โลกคือสิ่งที่สามารถทำความเข้าใจได้
ปรากฏการณ์ต่างๆ บนโลกหรือในจักรวาลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นแบบรูป (pattern)
สามารถเข้าใจได้ด้วยสติปัญญา วิธีการศึกษาที่เป็นระบบ ผนวกกับการใช้ประสาทสัมผัส
และเครื่องมือต่างๆ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
1.2 แนวคิดทางวิทยาศาสตร์สามารถเปลี่ยนแปลงได้
แนวคิดทางวิทยาศาสตร์สามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีข้อค้นพบใหม่ที่อธิบายได้ดีกว่า
1.3 ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีความคงทน
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีความคงทน เชื่อถือได้เพราะผ่านวิธีการ
ทางวิทยาศาสตร์ที่เน้นความถูกต้องแม่นยำ และตรวจสอบอย่างเข้มข้นจากประชาคม
วิทยาศาสตร์ (Scientific Community)
1.4 ทฤษฎีและกฎมีความสัมพันธ์กันแต่มีความแตกต่างกัน
กฎ คือ แบบแผนที่ปรากฏในธรรมชาติ ส่วน ทฤษฎี คือ คำอธิบายว่าทำไมแบบแผน
ของธรรมชาติจึงเป็นไปตามกฏนั้นๆ
1.5 วิทยาศาสตร์ไม่สามารถตอบได้ทุกคำถาม
วิทยาศาสตร์ไม่สามารถตอบคำถามในเรื่องของค่านิยม จิตวิญญาณ ความเชื่อ จริยธรรม
หรือศาสนาได้

ด้านที่ 2 การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์(scientific inquiry)
ครอบคลุมถึง ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการค้นคว้าและสืบเสาะหาความรู้วิทยาศาสตร์
เป็นการเข้าใจถึงความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่จะหาหลักฐาน
โดยใช้เหตุผลและจินตนาการ ทำการทดลอง อธิบายและทำนายปรากฏการณ์ต่าง ๆ
เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่มาสนับสนุนแนวคิดของตนเองโดยพยายามหลีกเลี่ยงอคติและ
เป็นอิสระจากผู้มีอำนาจ

ด้านที่ 3ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการทางวิทยาศาสตร์ (scientific enterprise)
เนื่องจากความรู้วิทยาศาสตร์เพียงสาขาใดสาขาหนึ่งไม่สามารถนำไปสู่การ
พัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์ขั้นสูงได้ ดังนั้น การสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่าง
นักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ หรือ การเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างบุคคล
องค์กร และสถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นกิจการที่สำคัญต่อการส่งเสริม
การพัฒนาและเผยแพร่ความรู้วิทยาศาสตร์เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสาธารณชน
โดยรวมต่อไป

ที่มา:
http://www3.ipst.ac.th/stat/assets//journal/j012_7Jan.pdf

http://www.edu.nu.ac.th/education-depart/doc/paper%.pdf

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พรบ.การศึกษาหมวด 4

 

พระราชบัญญัติการศึกษา

หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา

มาตรา ๒๒ การจัดการศึกษาต้องยืดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และ

พัฒนาตนเองได้ การจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและ

เต็มตามศักยภาพ

(นักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่าง และมีรูปแบบการเรียนรู้ต่างกัน ครูมีหน้าที่จัด

สภาพแวดล้อมให้นักเรียน เกิดการเรียนรู้ )

มาตรา ๒๓ การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและ

การศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และ

บูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้

(๑) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม

(๒) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(๓) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและ

การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา

(๔)  ความรู้  และทักษะด้านคณิตศาสตร์  และด้านภาษา  เน้นการใช้ภาษาไทย
อย่างถูกต้อง

(๕) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

(นอกจากนักเรียนจะต้องมีความรู้แล้ว ยังต้องมีคุณธรรม มีส่วนร่วมในกิจการ

และ เหตุการณ์ทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิด

ประโยชน์กับส่วนรวม)

มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้  ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)  จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคลองกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน 
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(๒)  ฝึกทักษะ  กระบวนการคิด  การจัดการ  การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์
ความรู้มาใช้เพื่อ ป้องกันและแก้ไขปัญหา
(๓)  จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบกรณ์จริง  ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้  
คิดเป็น  ทำเป็น  รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(๔)  จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วน
สมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ไว้ในทุกวิชา
(๕)  ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ  สภาพแวดล้อม  สื่อการเรียน 
และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้  รวมทั้ง
สามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้  ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียน
อาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
(๖)  จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา 
มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย ร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ    
(ครูมีหน้าที่จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเรียนรู้ ใช้วิธีการ,สื่อและ
แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมถึงต้องทำงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น 
จากการเรียนการสอนด้วย ในการสร้างความรู้ของนักเรียนจะต้องมีการร่วมมือกัน
ระหว่างครู นักเรียน และผู้ปกครอง)
มาตรา ๒๕  รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ 
ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์หอศิลป์  สวนสัตว์  สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์  
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ  แหล่งข้อมูลและ
แหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ
(เห็นด้วยกับการจัดแหล่งการเรียนรู้ให้หลากหลาย ควรส่งเสริมให้มีการใช้แหล่งเรียนรู้
ในเวลาว่างมากขึ้น ไม่เฉพาะไปกับโรงเรียนเท่านั้น)
มาตรา ๒๖ ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน  
ความประพฤติ   การสังเกตพฤติกรรมการเรียน  การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไป
ในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา
               ให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อและ
ให้นำผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย
(นอกเหนือจากครูเป็นผู้ประเมินแล้ว  นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินตนเอง รวมถึง
การให้เพื่อนประเมินด้วย) 
มาตรา ๒๗  ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย  ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ  การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ  
ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ
               ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ใน
วรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น  คุณลักษณะ
อันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว  ชุมชน  สังคม  และประเทศชาติ
(ในการจัดทำหลักสูตร แต่ละสถานศึกษาควรนำสังคม ชุมชนรอบโรงเรียนมาเกี่ยวข้องด้วย 
เพื่อให้นักเรียนรู้สึกรัก หวงแหน และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และสังคมนั้น)
มาตรา ๒๘ หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตาม
มาตรา ๑๐  วรรคสอง  วรรคสาม  และวรรคสี่ต้องมีลักษณะหลากหลาย  ทั้งนี้ให้จัดตาม
ความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัย
และศักยภาพ สาระของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการ และวิชาชีพ  ต้องมุ่งหมายพัฒนาคน
ให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้  ความคิด  ความสามารถ  ความดีงามและความรับผิดชอบต่อสังคม
               สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา  นอกจากคุณลักษณะในวรรคหนึ่ง
และวรรคสองแล้ว  ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการวิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย  
เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม
มาตรา ๒๙  ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล  ครอบครัว  ชุมชน  องค์กรชุมชน 
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา 
สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัด
กระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน  เพื่อให้ชุมชน มีการจัดการศึกษาอบรม  มีการแสวงหาความรู้  
ข้อมูลข่าวสาร  และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ  เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้อง
กับสภาพปัญหาและความต้องการ  รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 
การพัฒนาระหว่างชุมชน
(สถานศึกษาควรจัดให้มีการแบ่งปันและเผยแพร่ความรู้โดยการให้ความร่วมมือกับชุมชน 
โดยสถานศึกษา อาจเป็นผู้ให้ความรู้ จัดหาแหล่งความรู้ให้กับชุมชน  ในขณะเดียวกัน 
ชุมชนก็มีส่วนในการเป็นแหล่งเรียนรู้ ให้กับสถานศึกษาได้ด้วยเช่นเดียวกัน)
มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธภาพ รวมทั้ง
การส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา
(ในการสอนที่มีประสิทธิภาพต้องมีการทำการวิจัยร่วมด้วยเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ในการจัดการเรียน การสอน และปัญหาที่เกิดกับผู้เรียนคนใดคนหนึ่ง)