วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Messachusett Framwork

Massachusetts Science and Technology/Engineering Curriculum Framework

ป็นหนึ่งในเจ็ดกรอบหลักสูตรซึ่งพัฒนาขึ้นโดยคณะทำงานเกี่ยวกับการศึกษาของเมสสาชูเซสซึ่งมี

การเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านของการเรียน การสอนและการประเมิน ซึ่งสร้างโดยครู อาจารย์ในมหาวิทยาลัย

นักการศึกษา นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกร และคณะทำงานจากคณะศึกษาศาสตร์

Purpose and Nature of Science and Technology/Engineering

ัตถุประสงค์ และธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี/วิศวกรรม

ัตถุประสงค์ ของการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/วิศวกรรม

ในแมสซาชูเซสนั้นทำให้นักเรียนมีทั้งทักษะและลักษณะนิสัยทางวิทยาศาสตร์ ในด้านความรู้สามารถมีปฏิสัมพัน์กับผู้ที่เป็นนักคิดและสังคมอเมริกันได้ อีกทั้งยังเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาในอนาคตอีกด้วย

Inquiry, Experimentation, and Design in the Classroom

กระบวนการสืบเสาะ,การทดลอง และออกแบบในชั้นเรียน

การใช้กระบวนการสืบเสาะเป็นพื้นฐานในการเรียนนั้น เป็นทางหนึ่งที่จะพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดหลัก,เนื้อหา

และทักษะทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์นั้น

ต้องการให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

โดยประยุกต์ใช้ความรู้ผ่านทักษะทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนควรมีโอกาสได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี/วิศวกรรมผ่านทางกิจกรรมที่มีปฏิสัมพันธ์

การทำการทดลอง การศึกษานอกสถานที่ และการออกแบบต่างๆ

กระบวนการสืบเสาะ,การทดลองและการออกแบบ ไม่ควรสอนหรือ

สอบแยกกัน แต่กระบวนการสืบเสาะ,การทดลองและการออกแบบ

ควรที่จะออกแบบหลักสูตรมาให้อยู่ด้วยกัน การสอนและการวัดผลนั้น ควรประกอบไปด้วยวิทยาศาสตร์ชีวภาพ,วิทยาศาสตร์กายภาพ,

โลกและอวกาศ และเทคโนโลยี/วิศวกรรม เพื่อที่จะทำให้นักเรียน

เกิดความชัดเจนว่า การรู้ “อะไร” ต้องไม่แยกจากการรู้ “อย่างไร”

Skills of Inquiry, Experimentation, and Design

ทักษะด้านกระบวนการสืบเสาะ การทดลอง และการออกแบบ

Grades PreK–2

§ ถามคำถามเกี่ยวกับวัตถุ,อวัยวะ และสิ่งแวดล้อมรอบตัว

§ บอกได้ว่า “เพราะเหตุใดและอะไรจะเกิดขึ้นถ้า……”

§ ทำนายโดยใช้รูปแบบการสังเกตเป็นพื้นฐาน

§ บอกชื่อและใช้เครื่องมือพื้นฐานได้(เช่น ไม้บรรทัด,เทอร์มอมิเตอร์,เครื่องชั่ง)

§ บันทึกการสังเกตและข้อมูลด้วยภาพ,ตัวเลขหรือบรรยาย

§ อภิปรายเกี่ยวกับการสังเกตร่วมกับผู้อื่น

Grades 3–5

§ ถามคำถามและทำนายในสิ่งที่สามารทดสอบได้

§ สามารถเลืกและใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อนำไปใช้ในการสังเกตได้

§ บันทึกผลการสืบเสาะและการทดลองอย่างแม่นยำ

§ ทดลองหายครั้งเพื่อทดสอบการทำนายและเปรียบเทียบผลที่ได้

จากการสืบเสาะและการทดลองกับการทำนาย

§ ใช้ข้อมูลที่ได้ในการอธิบายผลการสืบเสาะหรือการทดลองอย่างมีเหตุผล

§ บันทึกข้อมูลและสื่อให้ผู้อื่นทราบโดยใช้กราฟ ตาราง แผนภาพ

แบบจำลอง บรรยายปากเปล่า หรือเขียนรายงาน

Grades 6–8

§ ตั้งสมมติฐานที่สามารถทดสอบได้

§ ออกแบบการทดลองให้มีตัวแปรควบคุมและตัวแปรตาม

และคำนวณ

§ เลือกใช้เครื่องมือและเทคโนโลยี(เช่น เครื่องคิดเลข,

คอมพิวเตอร์,ไมโครสโคปเพื่อช่วยในการเก็บข้อมูล

§ นำเสนอและอธิบายข้อมูลโดยใช้ตาราง กราฟ

แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์และการสาธิต

§ เขียนข้อสรุปโดยใช้ข้อมูลและหลักฐานมาสนับสนุน

และนำเสนอโดย กราฟ หรือรูปแบบที่เหมาะสมกับข้อมูล

§ สื่อสารผลโดยใช้ศัพท์เฉพาะทางวิทยาศาสตร์

§ อธิบายโดยมีแบบแผน ,เขียนอธิบายจุดเด่น จุดด้อย เพื่อใช้ในการปรับปรุงครั้งต่อไป

High School

กรอบนี้แนะนำทักษะการสืบสวนทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry Skills : SIS)

4 มาตรฐานในชั้นมัธยมปลาย(ยกเว้นเทคโนโลยี/วิศวกรรม ซึ่งแทนโดยขั้นของกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม)

SIS1. Make observations, raise questions, and formulate hypotheses.

ทำการสังเกต,ตั้งคำถามและตั้งสมมติฐาน

SIS2. Design and conduct scientific investigations.

ออกแบบการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์

SIS3. Analyze and interpret results of scientific investigations.

วิเคราะห์และอธิบายผลการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์

SIS4. Communicate and apply the results of scientific investigations.

สื่อสารและประยุกต์ผลการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์

Science and Technology/Engineering Learning Standards

าตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี/วิศวกรรม

earth and space science:โลกและอวกาศ

grades PreK–2 ศึกษาเกี่ยวกับ

ัตถุของโลก,สภาพภูมิอากาศ,การทำนายปรากฏการณ์

ดวงอาทิตย์:แหล่งพลังงานแสงและความร้อน

grades 3–5 ศึกษาเกี่ยวกับ

ินและสมบัติของหิน,ดิน,อากาศ,วัฏจักรของน้ำ,

กำเนิดโลกและโลกในระบบสุริยะ

grades 6–8 ศึกษาเกี่ยวกับ

แผนที่โลก,โครงสร้างของโลก,การส่งถ่ายความร้อนในโลก,

กำเนิดโลก และโลกในระบบสุริยะ

High school ศึกษาเกี่ยวกับ

วัตถุและพลังงานในระบบของโลก,แหล่งพลังงานในโลก,

กระบวนการและวัฏจักรในโลก และต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของอวกาศ

life sciences(Biology)

grades PreK–2 ศึกษาเกี่ยวกับ

ลักษณะของสิ่งมีชีวิต,การถ่ายทอดทางพันธุกรรม,

วิวัฒนาการและความหลากหลายทางชีวภาพและ

สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ

grades 3–5 ศึกษาเกี่ยวกับ

ลักษณะขอพืชและสัตว์,โครงสร้างและการทำงาน,

การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตและ พลังงานและสิ่งมีชีวิต

grades 6–8 ศึกษาเกี่ยวกับ

การจัดประเภทของอวัยวะ,โครงสร้างและการทำงานของเซลล์,

ระบบของสิ่งมีชีวิต,การสร้างใหม่และการถ่ายทอดทางพันธุกรรม,

วิวัฒนาการและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต,

สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ,

พลังงานและสิ่งมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศเมื่อเวลาผ่านไป

High school ศึกษาเกี่ยวกับ

เคมีในสิ่งมีชีวิต,เซลล์ชีวภาพ,พันธุศาสตร์,

กายวิภาคศาสตร์และกายภาพ,วิวัฒนาการและความหลากหลาย

และนิเวศวิทยา

physical sciences (chemistry and physics)

grades PreK–2 ศึกษาเกี่ยวกับ

สมบัติของวัตถุที่สังเกตได้,สถานะของสาร

และตำแหน่งและการเคลื่อนที่ของวัตถุ

grades 3–5 ศึกษาเกี่ยวกับ

สมบัติของวัตถุและวัสดุ,สถานะของสาร

และรูปแบบของพลังงาน

grades 6–8 ศึกษาเกี่ยวกับ

สมบัติของวัตถุ,ธาตุ,สารประกอบและสารผสม,

การเคลื่อนที่ของวัตถุ,รูปแบบของพลังงานและพลังงานความร้อน

High school ศึกษาเกี่ยวกับ

สมบัติของวัตถุ,โครงสร้างอะตอมและเคมีนิวเคลียร์,

ตารางธาตุ,พันธะเคมี,ปฎิกิริยาเคมีและ Stoichiometry, สถานะของสาร,ทฤษฎีพลังงานจลน์ของโมเลกุลและเคมีอุณหพลศาสตร์,

สาร,อัตราการเกิดปฏิกิริยา สมดุลเคมี,กรดและเบส,ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นและรีดักชั่น

Technology/engineering

grades PreK–2 ศึกษาเกี่ยวกับ

วัสดุและเครื่องมือ,การออกแบบทางวิศวกรรม

grades 3–5 ศึกษาเกี่ยวกับ

วัสดุและเครื่องมือ,การออกแบบทางวิศวกรรม

grades 6–8 ศึกษาเกี่ยวกับ

วัสดุ เครื่องมือและเครื่องกล,การออกแบบทางวิศวกรรม,

เทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีวิศวกรรมสิ่งมีชีวิต

High school ศึกษาเกี่ยวกับ

การออกแบบทางวิศวกรรม,เทคโนโลยีโครงสร้าง,

เทคโนโลยีพลังงานและกำลัง:ระบบของเหลว,

เทคโนโลยีพลังงานและกำลัง:ระบบความร้อน,

เทคโนโลยีพลังงานและกำลัง:ระบบไฟฟ้า,

เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีโรงงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น